King Mongkut’s University of Technology Thonburi (KMUTT)
ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของนักศึกษา

ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของนักศึกษา


ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มจธ. มุ่งเน้นการส่งเสริมให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำวิจัยจริง ควบคู่กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ต่อสังคมและอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ผลงานของนักศึกษาครอบคลุมทั้งด้านวัสดุศาสตร์ ฟิสิกส์การแพทย์ พลังงาน เทคโนโลยีสุขภาพ ฟิสิกส์ทฤษฎี การวิเคราะห์ข้อมูล และการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ สะท้อนถึงศักยภาพของนักศึกษาในการเชื่อมโยงองค์ความรู้ฟิสิกส์สู่การพัฒนาเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์

ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ระจำปี 2567

รางวัล ระดับดีเด่น 

นายธนวรพันธุ์ ณพิชญ์สิษฐ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4

อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.จิตรา เกตุแก้ว และ ดร.อาภาพร โอรส (กรมทางหลวง)

ได้ทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงของลูกแก้วบนสีเทอร์โมพลาสติกในสภาวะที่แตกต่างกัน โดยลูกแก้วมีหน้าที่สำคัญในการเพิ่มความสามารถในการมองเห็นเส้นจราจรบนถนน ผ่านหลักการสะท้อนแสงกลับ (Retroreflection) แต่พบว่าในสภาวะเปียก เส้นจราจรไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนในเวลากลางคืน ดังนั้น จึงได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมองเห็นเส้นจราจรในตอนกลางคืน โดยพิจารณาผ่านค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสง RL ภายใต้สภาวะแห้งและเปียก โดยมีเป้าหมายเพื่อค้นหาประเภทของลูกแก้วที่ให้ค่า RL สูงที่สุดในทุกสภาวะ โครงงานนี้สามารถนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการเลือกประเภทของลูกแก้วให้เหมาะสมกับพื้นที่ใช้งานจริงตามสภาพแวดล้อม โดยคำนึงถึงทั้งประสิทธิภาพในการสะท้อนแสงและความคุ้มค่า เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในการมองเห็นบนท้องถนนได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกสภาวะ

 

รางวัล ระดับดีมาก

นางสาวบังอร พระสุธรรม นักศึกษาชั้นปีที่ 4

อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.สุวัฒน์ ตั้งวันเจริญ, ดร.ชนิสา กาญจนสกุล (NARIT) และ  พันเอก ดร.นวพงศ์ อันสุรีย์ (โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า)

โครงงานนี้ได้ศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับหลักการทำงานและการออกแบบสเปกโตรกราฟเบื้องต้น โดยมุ่งเน้นที่สเปกโตรกราฟโครงร่างแบบเซอร์นี-เทอร์เนอร์ (Czerny-Turner Configuration) ครอบคลุมทั้งแบบ Uncrossed Czerny-Turner Configuration และ Crossed Czerny-Turner Configuration จากนั้นสร้างแบบจาลองทางทัศนศาสตร์ผ่านโปรแกรม Ansys Zemax OpticStudio โดยอ้างอิงขนาดจากอุปกรณ์ที่มีจำหน่ายทั่วไป เพื่อสำรวจถึงประสิทธิภาพของสเปกโตรกราฟที่ทาการออกแบบ จากขนาดของรัศมีรากที่สองของค่าเฉลี่ยกำลังสอง (RMS Radius) ที่ควรมีขนาดเล็กและเข้าใกล้ รัศมีแอรี (Airy Radius) จากการออกแบบพบว่าการปรับลดระยะและมุมของกระจกและเกรตติง ทำให้ค่าขนาดของรัศมีรากที่สองของค่าเฉลี่ยกำลังสอง (RMS Radius) มีค่าลดลง แต่ยังไม่เข้าใกล้รัศมีแอรี (Airy Radius) เนื่องจากเกิดความคลาดเอียงขึ้น จึงได้ทำการเพิ่มเลนส์ทรงกระบอกเพื่อลดความคลาดเอียง ผลคือ รัศมีรากที่สองของค่าเฉลี่ยกาลังสอง (RMS Radius) เล็กลงและใกล้เคียงกับรัศมีแอรี (Airy Radius) มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ระหว่างสเปกโตรกราฟโครงร่างแบบเซอร์นี-เทอร์เนอร์ (Czerny-Turner Configuration) แบบ Uncrossed และ Crossed ยังไม่เห็นความแตกต่างกันมากนัก

 

รางวัล ระดับดี

นายบดินทร์ วรสุขวณิช นักศึกษาชั้นปีที่ 4

อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.วิทยา กาญจนภูษากิจ

โครงงานนี้ได้นำเสนอการใช้ทฤษฎีบทไวเรียลเพื่อตรวจสอบแนวคิดเรื่องแรงเชิงควอนตัมที่ตำแหน่งเฉพาะเจาะจงได้ เนื่องจากในสถานะกักขังทางควอนตัม แรงถูกกำหนดโดยค่าเฉลี่ยเชิงควอนตัมของเกรเดียนต์ของพลังงานศักย์ในช่วงตำแหน่งที่พบอนุภาคนั้น ทำให้แนวคิดเรื่องแรง ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งมีความหมายลดลง เพื่อศึกษาประเด็นนี้ จึงใช้แบบจำลองอนุภาคในบ่อศักย์สี่เหลี่ยมที่มีความลึกจำกัด และพบว่าแรงที่ขอบเขตสามารถแยกออกเป็นสององค์ประกอบ องค์ประกอบของแรงเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความสูงและความกว้างของบ่อศักย์ ทำให้สามารถศึกษาผลของปัจจัยเหล่านี้ต่อแรงลัพธ์ได้ นอกจากนี้ เรายังขยายการวิเคราะห์ไปยังบ่อศักย์สี่เหลี่ยมลึกอนันต์ และตัวสั่นแบบฮาร์มอนิก

 

รางวัล ชมเชย

นายสุวิชา เล็กแจ่ม และ นายอธิวัฒน์ พึงประเสริฐ นักศึกษาชั้นปีที่ 4

อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.พิชญ์สิณี สุวรรณแพทย์ และ ผศ.ดร.เยี่ยมพล นัครามนตรี (ภาควิชาเคมี)

โครงงานนี้นำเสนอวิธีการเตรียมและทดสอบสมบัติเชิงกลของวัสดุยางพารา เพื่อใช้เป็นวัสดุทางเลือกในการทดสอบทางคลินิกของการรับรู้ทางระบบประสาทและการทรงตัว (CTSIB) จึงได้มีการเตรียมชิ้นงานจากวัสดุยางพารา โดยปรับระยะเวลาในการตีโฟมเพื่อศึกษาสมบัติเชิงกลและพฤติกรรมการยุบตัวเนื่องจากโครงสร้างของชิ้นงานที่ต้องการ ส่งผลทำให้ชิ้นงานมีความนุ่มและมีโครงสร้างที่สามารถรองรับแรงกดได้ดีทำให้สามารถคืนตัวได้ดีหลังได้รับแรงกด เป็นแนวทางในการพัฒนาชิ้นงานให้เหมาะสำหรับการทดสอบทางคลินิกในการรบกวนระบบรับรู้ทางกายขณะทดสอบ

 

รางวัลโปสเตอร์

ระดับดีเด่น : นางสาวญาณิศา บุญกุศล

ระดับดีมาก : นายกฤษฎา ทัดทา

ระดับดี : นายธนพล ชูจันทร์ และ นางสาวศุญาราภรณ์ เหล่าพึ่งสกุล